รูรับแสง (Aperture) คืออะไร
ตามทฤษฎีแล้ว ค่ารูรับแสงหรือ f-stop เป็นตัวควบคุมความชัดของภาพเราว่าจะให้ชัดตื้น(หน้าชัดหลังเบลอ, หน้าเบลอหลังชัด) หรือชัดลึก(ชัดทั้งภาพ) โดยการปรับค่า f ที่กล้องถ่ายรูป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้ว่ามีช่วงค่า f กว้างแค่ไหน
การแบ่ง stop จะมีตั้งแต่ f/1.2, f/1.8, f/2.8, f/4, f/5.6,...., f/22
![]() |
ตารางเทียบขนาดของรูรับแสงของเลนส์ในแต่ละ stop |
*Tip สำหรับมือใหม่
บางคนอาจไม่รู้ว่าเลนส์ที่ตัวเองใช้มีรูรับแสงกว้างสุดเท่าไหร่
วิธีง่ายๆในการดู เพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจซื้อเลนส์ (หรือกล้อง Compact) คือดูตัวเลขตรงหน้าเลนส์ เค้าจะบอกรูรับแสงดว้างที่สุดให้
เลนส์ Prime (Fixed) จะมีค่ารูรับแสงที่กว้างสุดค่าเดียว
ในรูปตัวอย่างจะเห็นตัวเลข 1:1.8 ที่เราต้องอ่านก็แค่ตัวเลข 1.8 ที่บอกรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.8
เลนส์ Zoom จะมีค่ารับแสงที่กว้างสุดหลายค่า
ในรูปตัวอย่างจะเห็นตัวเลข 1:4.5-5.6 หมายความว่า ที่ช่วงทางยาวโฟกัสสั้นสุด รูรับแสงกว้างสุดจะอยู่ที่ f/4.5 และ ช่วงทางยาวโฟกัสยาวสุด รูรับแสงกว้างสุดจะเปลี่ยนไปที่ f/5.6
สำหรับกล้อง Compact วิธีการอ่านเหมือนกัน
ฉะนั้นเมื่อรู้ค่ารูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ที่ใช้ ก็ไม่ควรพยายามไปฝืนความสามารถมัน เพราะมันทำไม่ได้อยู่แล้ว
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
รูรับแสงในแต่ละค่าจะให้ภาพที่ออกมาแตกต่างกัน ด้วยปัจจัยดังนี้
1. ปริมาณแสงรูรับแสงในแต่ละค่าจะให้ภาพที่ออกมาแตกต่างกัน ด้วยปัจจัยดังนี้
ลองสมมติว่าเราอยู่ในห้องที่มีหน้าต่างอยู่บานเดียว แล้วมีแสงจากข้างนอกเข้ามาทำให้ห้องสว่าง ถ้าเราเอาผ้าม่านทึบค่อยๆปิดหน้าต่างไปเรื่อยๆ ห้องก็ต้องมืดลงๆ
หลักการเหมือนกัน แค่เปรียบว่าหน้าต่างคือเลนส์, ผ้าม่านคือรูรับแสง และห้องคือเซนเซอร์รับภาพ
ถ้ารูรับแสงกว้างจะทำให้ภาพออกมาสว่าง ส่วนรูรับแสงแคบภาพก็จะออกมามืด ดังภาพทดสอบข้างล่าง
![]() |
ภาพทดสอบนี้ทุกรูปถ่ายที่ค่า Shutter Speed ที่ 1/10, ISO 400 โดยเปลี่ยนแค่ค่ารูรับแสง |
จากข้อมูลนี้เราก็รู้ว่าเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างก็จะสามารถถ่ายในที่มืดๆได้ดีกว่า จะได้ไม่ต้องดัน ISO สูงๆ
2. ความชัดลึกชัดตื้นของภาพ
เหตุผลหลักที่เราต้องเปลี่ยนค่ารูรับแสงก็เพราะว่าต้องการสร้างสรรค์ภาพให้วัตถุมีความโดดเด่นมากขึ้น เทียบความแตกต่างได้จากภาพข้างล่าง
![]() |
ภาพทดสอบนี้ถ่ายด้วยระยะโฟกัสที่เท่ากัน เลนส์ตัวเดียวกัน โดยเปลี่ยนค่ารูรับแสง และชดเชยแสงให้เท่ากันทุกภาพ |
จากภาพจะเห็นได้ว่ายิ่งรูรับแสงกว้าง ยิ่งละลายฉากหลังได้ดี, รูรับแสงแคบภาพก็จะชัดหมด
แค่นี้เราก็สามารถทำภาพชัดตื้นชัดลึกได้แล้ว
สำหรับโหมดที่เราใช้ในการถ่ายภาพโดยเน้นการปรับรูรับแสงเป็นหลักจะใช้โหมด A (Aperture Priority) หรือ Av (Aperture Value) ใน Canon โดยเราสามารถปรับค่ารูรับแสงได้ตามต้องการ ส่วนกล้องจะคิดค่าอื่นๆให้แทน
สรุปให้ง่ายๆ
- รูรับแสงกว้าง (ค่า f น้อย) => แสงเข้าภาพมาก + ชัดตื้น
- รูรับแสงแคบ (ค่า f มาก) => แสงเข้าภาพน้อย + ชัดลึก
ต่อไปจะมารู้จักกับค่าที่มีผลต่อการหยุดวัตถุได้ นั้นคือค่าความเร็วชัดเตอร์
กลับไปยังหน้า Photo Tips
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น