วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2559

Photoshop Tip 6: ทำภาพ Panorama

ภาพพาโนราม่า (Panorama) คือภาพถ่ายมุมกว้าง ซึ่งมักเป็นภาพถ่ายแนว Landscape โดยภาพที่ได้จะเป็นภาพที่ยาวๆ เพื่อเก็บสถานที่ทั้งหมดให้อยู่ในภาพเดียวได้

สมัยนี้สมาร์ทโฟนต่างก็มีแอพถ่ายภาพพาโนราม่า ทำให้การจะได้ภาพสไตล์นี้เป็นไปได้ง่าย ทุกคนก็ทำได้ แต่ถ้าเป็นกล้องถ่ายรูปทั่วๆไปอย่างกล้อง DSLR/Mirrorless ถ้าอยากได้รูปพาโนราม่าสวยๆซักรูปจะทำอย่างไร?

วันนี้มีเทคนิคง่ายๆโดยการทำภาพพาโนราม่าด้วยกล้องถ่ายรูป และไม่พึ่งขาตั้งกล้อง

โดยเราจะแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกคือการถ่ายภาพ ช่วงที่สองคือการแต่งภาพ

การถ่ายภาพ
1. สถานที่ - ต้องดูว่างสถานที่ที่จะถ่ายลักษณะเหมาะสำหรับภาพพาโนราม่าหรือไม่ เช่นวิวภูเขา, ทะเล และสะพาน เป็นต้น

2. การจัดท่าเมื่อไม่มีขาตั้งกล้อง ให้เอาแขน 2 ข้างประชิดตัวตลอด ยืนให้มั่นคง เท้าต้องวางทำมุม 90 องศาระหว่างกัน
หากต้องการถ่ายภาพยาวต่อเนื่อง ก็หมุนเท้าทำมุมตามภาพ
3. ตั้งค่ากล้องด้วยโหมด M - เพื่อให้แสงของภาพเท่ากันทุกรูป โดยต้องตั้งค่า f, Shutter Speed และ ISO ให้เหมาะสม

4. เลนส์ช่วง Normal ดีที่สุด - ควรเลี่ยงการใช้เลนส์ Wide เพราะขอบภาพจะโค้ง จะซ้อนภาพในโปรแกรมได้ยาก ช่วง Normal ประมาณ 28 mm กำลังดี

5. Manual Focus - โฟกัสบริเวณ Subject เฉพาะภาพแรก เพราะหากภาพอื่นเลนส์โฟกัสอีกรอบอัตโนมัติ มันอาจไปโฟกัสบริเวณอื่นที่ไม่ต้องการได้

6. ให้ภาพแต่ละภาพมีบริเวณที่ทับซ้อนกัน (Overlap) เสมอ - ซ้อนกันประมาณ 15-20% ของภาพ เพื่อให้ Photoshop รู้ว่าภาพไหนควรซ้อนกัน

7. แนวตั้งหรือแนวนอน - อยู่ที่ว่าภาพที่เราถ่ายมีพื้นที่บริเวณด้านบน/ล่างของภาพเพียงพอสำหรับการ crop หรือไม่ ถ้าอยากป้องกันตรงนี้ควรถ่ายภาพแนวตั้ง (แต่ต้องถ่ายเยอะกว่าแนวนอน)

การแต่งภาพ
เมื่อได้ภาพที่ต้องการแล้วเราก็มาใช้ Adobe Photoshop 
ขั้นที่ 1 คลิ๊กไปที่ File => Automate => Photomerge
มันจะขึ้นหน้าต่างแบบในรูป แล้วให้กด Browse เพื่อเลือกรูปที่จะนำมาซ้อนกัน (หากภาพเป็นไฟล์ Raw มันจะเข้า Adobe Camera Raw เพื่อให้เราปรับแต่งภาพก่อน จำไว้ว่าทุกภาพต้องมี Setting เหมือนกันหมด)
ภาพที่เลือกควรเป็นภาพที่ถ่ายสำหรับพาโนราม่า
หลังจากเลือกเสร็จแล้ว กด OK โปรแกรมจะทำงานเอง ส่วนนี้ใช้เวลานานมาก
เมื่อเสร็จแล้วจะได้ภาพรวมที่หน้าตาแบบนี้
ชั้นที่ 2 เห็นได้ว่าภาพที่รวมกันเสร็จเรียบร้อยมีส่วนขอบบน/ล่างที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากเราถ่ายด้วยมือเปล่า จึงทำให้ภาพไม่นิ่งเป็นธรรมดา แก้โดย Crop ส่วนบน และส่วนล่าง ไม่ให้เหลือส่วนที่ว่าง
แค่นี้ก็เสร็จสมบูรณ์ มันง่ายมากๆ
---------------------------------------------------------------------------------
ข้อควรระวังของการซ้อนภาพคือ ภาพที่ได้อาจเป็นแบบข้างล่างนี้  เพราะเหตุการณ์ขณะที่ถ่ายแต่ละภาพมันเกิดคนละเวลา และคนก็ไม่ได้อยู่กับที่เสมอไป ถ่ายภาพ 2 ครั้ง ถ่ายติดคนเดิมแต่อยู่คนละที่ พอซ้อนกันกลายเป็นว่ามีคนเดียวกันอยู่ในภาพ 2 จุด

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ภาพตัวอย่างอื่นๆ
Note: สำหรับเทคนิคนี้เป็นเพียงเทคนิคที่เราใช้อยู่ อาจไม่เหมือนวิธีของคนอื่น แต่การแต่งภาพมันไม่มีกฎตายตัวอยู่แล้วนิ

กลับไปยังหน้า Photo Tips

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น