สำหรับคนที่เพิ่งหัดถ่ายภาพใหม่ๆหรือนักท่องเที่ยวธรรมดาที่ไม่ค่อยรู้เรื่องถ่ายภาพคงสงสัยว่าภาพ Over กับ Under หมายถึงอะไร
ผมก็จะอธิบายง่ายๆคือศัพท์ 2 คำนี้ใช้กับภาพถ่ายที่แสงผิดไปจากความเป็นจริง ภาพที่แสง Over คือภาพที่สว่างกว่าความเป็นจริง ส่วนภาพที่แสง Under คือภาพที่มืดกว่าความเป็นจริง
วิธีการดูว่าภาพติด Over หรือ Under นั้นเราดูที่สเกลวัดแสงที่มีในกล้องถ่ายรูปดิจิตอลไม่ว่าจะเป็น DSLR หรือกล้อง Compact ทั่วไปสำหรับบางรุ่นอาจไม่มีให้แต่เราก็สามารถดูได้ด้วยตัวเองว่าภาพที่ได้มันสว่างหรือมืดกว่าสถานที่ที่เราถ่ายภาพอยู่
![]() |
ด้านซ้ายแสงติด Over ด้านขวาแสงติด Under |
คำถาม: ภาพพวกนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
คำตอบ: ง่ายๆคืออยู่ที่การตั้งค่าของกล้องเรา เพราะถ้าเราเป็นแค่คนธรรมดาที่เวลาใช้กล้องก็แค่หยิบโทรศัพท์หรือกล้อง Compact ที่ตั้งค่า Auto กล้องมันจะตั้งค่าเพื่อให้รูปออกมาแสงพอดีอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่พัฒนาขึ้นมาหน่อย เริ่มใช้โหมดปรับค่าต่างๆเอง เช่น โหมด A, S, M, P โดยจะต้องเป็นคนกำหนดปริมาณแสงที่จะให้มีในภาพ ซึ่งการปรับค่าต่างๆเหล่านี้แหละก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ภาพติด Over หรือ Under จากการวัดแสงที่ผิด
คำถาม: ถ้าใช้โหมด Auto ก็ไม่เจอภาพติด Over หรือ Under เลยงั้นเหรอ
คำตอบ: ไม่เสมอไป อยู่ที่สถานที่ที่เราถ่ายและจุดวัดแสงของกล้องด้วย สมมติเราถ่ายภาพคนในที่ร่มโดยมีฉากหลังเป็นข้างนอกตอนกลางวันสว่างๆ และกล้องเราตั้งค่าวัดแสงแบบเฉลี่ยหนักกลาง หรือเฉพาะจุด เราก็อาจได้ภาพที่แสงที่คนพอดี แต่ฉากหลังสว่างจนขาว (Over) หรือ ฉากหลังแสงพอดี แต่คนมืดแทน (Under)
แต่ถ้าเกิดถ่ายไปแล้วหละ การแต่งภาพแบบง่ายๆจะช่วยคุณได้ในโปรแกรม Adobe Photoshop
ขั้นที่1 เปิดรูปที่เราต้องการแต่งใน Photoshop (สำหรับรูปที่เห็นอยู่นี้จะติดแสง Under เล็กน้อย) เนื่องจากฉากหน้าค่อนข้างมืด และท้องฟ้าไม่ขาวจนเกินไป
ขั้นที่1 เปิดรูปที่เราต้องการแต่งใน Photoshop (สำหรับรูปที่เห็นอยู่นี้จะติดแสง Under เล็กน้อย) เนื่องจากฉากหน้าค่อนข้างมืด และท้องฟ้าไม่ขาวจนเกินไป
![]() |
ภาพนี้ถ่ายที่วัดโพธ์ในช่วงเวลาสายๆ แสงท้องฟ้าเริ่มจะสว่างแข็งๆแล้ว |
ส่วนอันนี้แค่เป็นการตรวจสอบง่ายๆว่าภาพเราแสงพอดีหรือไม่ โดยการคลิ๊กไปที่ Image => Adjustments => Curves เราจะเห็น กราฟ Histogram ซึ่งจะบอกปริมาณแสงของภาพในทุกช่วงความสว่างโดยซ้ายจะเป็นมืดจนไปถึงขวาที่สว่างสุด จากที่เห็น ภาพนี้มีส่วนที่มืดกับสว่างเยอะมาก โดยช่วงแสงกลางๆมีน้อยมาก
ขั้นที่ 2 เริ่มปรับส่วนท้องฟ้าก่อน ในรูปท้องฟ้าค่อนข้างสว่างไปนิดนึง เราจะทำการลดความสว่างแค่ส่วนท้องฟ้าโดยการไฮไลท์ด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า Magic Wand Tool จากนั้นก็คลิ๊กลงไปในส่วนท้องฟ้า โดยมันจะไฮไลท์ท้องฟ้าเกือบทั้งหมด เป็นเพราะว่าท้องฟ้าอยู่ในช่วงโทนสีที่ใกล้เคียงกันมาก ถ้าเกิดมันไฮไลท์ไม่หมด เราก็เพิ่มส่วนไฮไลท์ด้วยการกด Shift ในคีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วคลิ๊กส่วนที่ต้องการเพิ่ม ถ้าต้องการลบก็กด Alt ในคีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วคลิ๊กส่วนที่ต้องการลบ (บางคนอาจต้องการความละเอียดมาก ก็สามารถใช้เครื่องมือ Lasso Tool หรือ Magnetic Lasso Tool ได้)
ขั้นที่ 3 คลิ๊กไปที่ Image => Adjustments => Shadows/Highlights
ปรับความสว่างโดยการเลื่อนแค่ส่วน Highlights (บริเวณที่ลูกศรชี้) จนกว่าจะได้ความสว่างที่ต้องการโดยอย่าให้มืดจนหลอกตา
ขั้นที่ 4 หลังจากปรับ Highlights แล้ว ภาพที่ได้ท้องฟ้าจะออกสีเทาๆ เราก็แก้โดยการคลิ๊กไปที่ Image => Adjustments => Color Balance
ปรับ Balance ของสีให้เหมือนท้องฟ้ามากยิ่งขึ้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าท้องฟ้าในรูปเราสีอะไร โดยในที่นี้ผมเลื่อนให้ออกโทนฟ้า (Cyan) เพราะฟ้าตอนนั้นเป็นสีฟ้า
ขั้นที่ 5 ปิดไฮไลท์บริเวณท้องฟ้าออกเพราะเราจะมาแต่งตรงฉากหน้าที่ติดแสง Under คลิ๊กไปที่ Image => Adjustments => Shadows/Highlights ปรับส่วนที่มืดโดยการเลื่อนแค่ส่วน Shadows (บริเวณที่ลูกศรชี้) อย่างให้สว่างจนหลอกตาเหมือนกัน
ขั้นที่ 6 เมื่อได้ภาพที่ทั้งฉากหน้าและท้องฟ้าแสงพอดีแล้ว เราก็มาปรับ Contrast ให้มีรายละเอียดส่วนของเงา โดยการคลิ๊กไปที่ Image => Adjustments => Curves แล้วปรับเส้นให้เป็นรูปตัว S ดังภาพ
ขั้นที่ 7 ปรับความสดของสีโดยการคลิ๊กที่ Vibrance ใน Adjustments ดังภาพ
เมื่อคลิ๊กไปแล้ว เราจะได้อีก Layer นึงที่ควบคุม Vibrance
เลื่อนค่า Vibrance หรือ Saturation ตามต้องการ โดยอย่าให้สดจนเกินไป (Vibrance ต่างกับ Saturation โดยที่ Vibrance จะมีผลในความสดของสีน้อยกว่า แต่จะเป็นธรรมชาติมากกว่า Saturation)
ขั้นที่ 8 เมื่อทุกอย่างเป็นที่พอใจแล้ว ก็รวม Layer โดยการคลิ๊กขวาที่ Layer ใดก็ได้ แล้วเลือก Merge Visible จากนั้นก็ Save
เมื่อเปรียบเทียบภาพก่อนแต่งกับหลังแต่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น